วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รสวรรณคดีในขุนช้างขุนแผน

รสของวรรคดีไทย มี 4 ประเภทด้วยกัน คือ 1.เสาวรจนี เป็นการชมโฉมตัวละคร นางเอก พระเอก 2.นารีปราโมทย์ คือบทเกี้ยวพาราสี เป็นบทที่ชายหญิงเกี้ยวกัน 3.พิโรธวาทัง คือบทที่แสดงความโกรธแค้น ตัดพ้อต่อว่า 4.สัลลาปังคพิสัย คือบทพรรณนาถึงความโศกเศร้า คร่ำครวญ ในวรรคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน มีลักษณะการแต่ง ที่เป็นกลอนสุภาพ ที่มีรสของวรรณคดีไทยครบทุกรส เข้าถึงทุกอารมณ์ของตัวละคร บรรยายเห็นถึงภาพของตัวละครนั้นๆ ในแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้อ่านเกิดความนึกคิดคล้อยตามในแตละบทความได้เป็นอย่างดี เช่น -รสเสาวรจนี รูปทรงส่งศรีไม่มีแม้น อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา ผมสลวยสวยขำดำเงา ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย เป็นการชมโฉมนางพิม ที่บ่งบอกถึงความงามของนางพิมได้เห็นอย่างชัดเจน -นารีปราโมทย์ น้องเอ๋ยเพราะน้อยหรือถ้อยคำ หวานฉ่ำจริงแล้วเจ้าแก้วเอ๋ย เจ้าเนื้อหอมพร้อมชื่นดังอบเชย เงยหน้ามาจะว่าไม่อำพราง ได้ชมชิดเข้าสนิทอย่างนี้แล้ว ขอเชิญแก้วกิริยาเมตตาบ้าง พี่จะมอบเสน่ห์ไว้ที่ในนาง อย่าระคางข้องแค้นระคายเคืองเป็นตอนที่ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยา -รสพิโรธวาทัง เมื่อแรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้ มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้ กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา คิดว่าหงส์จึงหลงด้วยลายย้อม ช่างแปลงปลอมท่วงทีดีหนักหนา ดังรักถิ่นมุจลินทร์ไม่คลาดคลา ครั้นลับตาฝูงหงส์ก็ลงโคลน ตัดพ้อต่อว่า ขุนแผนต่อว่านางวันทองเป็นคำเปรียบเปรยคมคายลึกซึ้ง -สัลลาปังคพิสัย แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้เหมือน จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว เป็นความรักที่แม่มีต่อลูก เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น